ทักทายเพื่อนๆ....^^

สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมทุกท่าน...^^บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2556 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ....ซึ่งใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

หน่วยที่ 3

หน่วยที่  3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
3.1        ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร  คือ  การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ  บทบาทหน้าที่  ผล  อิทธิพล  การใช้  การควบคุม  แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต  และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร  แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน  เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
3.2        ลักษณะและหลักการสื่อสาร    แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1      การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจนภาษา" (Oral Communication)
1.2      การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication)
1.3      การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication)
3.3         ประเภทของการสื่อสาร    แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.      การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication)
2.       การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
3.       การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication
4.       การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
3.4        กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร    (Comunication Process)  หมายถึง การส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง และการใช้กิริยาท่าทาง
3.5        องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communication Source)
 2. เนื้อหาเรื่องราว (Message)
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel)
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience)
5. ผล (Effect)
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับไปยังผู้สอน
สื่อกลางในการเรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1.              วัสดุ (Material or Software)
2.              เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device or Hardware)
3.              เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Technique or Method)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น