ทักทายเพื่อนๆ....^^

สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมทุกท่าน...^^บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2556 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ....ซึ่งใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2 หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศ
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
2. ทฤษฎีการ
 3. ทฤษฎี
 4. ทฤษฎีการเผยแพร่
1.         ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.1        ปรัชญาการศึกษากับเทคโนโลยีการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา  คือ การแสวงหาความจริงว่า การศึกษาที่แท้ คืออะไร เรามีวิธีการเข้าถึงการศึกษาที่แท้ได้อย่างไร และการศึกษาที่แท้จริงนั้นทำให้เกิดคุณค่าอะไรบ้าง   ปัญหาอยู่ที่ว่า เราเชื่อว่าอะไร คือ การศึกษาที่จริงแท้ของมนุษย์
1.2        จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง พึ่งพาตนเองได้
สรุป  ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.              จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
        1.             กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
2.             กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
3.             กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivists)
2.1        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี  ไม่เลว  
2.2        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม  พุทธิปัญญา
ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความจริง (Truth) หรือความรู้มีอยู่จริงในโลกหรือในจักรวาล ถ้าเราพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราก็จะพบไปเรื่อยๆ  
2.3        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) หรือ คอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง (Theory of Active Knowing) 
3.              ทฤษฎีการสื่อสารและการสื่อความหมาย
การสื่อสาร(communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือ พฤติกรรมที่เข้าใจ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ผู้ส่ง ---ข้อมูลข่าวสาร ---> สื่อ ---> ผู้รับ
3.1        ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร  คือ  การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ  บทบาทหน้าที่  ผล  อิทธิพล  การใช้  การควบคุม  แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต  และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร  แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน  เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
3.2        ลักษณะและหลักการสื่อสาร    แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1      การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจนภาษา" (Oral Communication) 
                                1.2      การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication)
                                1.3      การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication)
3.3        ประเภทของการสื่อสาร    แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
                1.             การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) 
                2.             การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
                3.             การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) 
                4.             การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
3.4        กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร    (Comunication Process)  หมายถึง การส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง และการใช้กิริยาท่าทาง
3.5        องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) 
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) 
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) 
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) 
5. ผล (Effect) 
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับไปยังผู้สอน  
3.6        การสื่อสารกับการเรียนการสอน
สื่อกลางในการเรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3 ลักษณะ คื
               
1.              วัสดุ (Material or Software) 
                2.              เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device or Hardware) 
               
3.              เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Technique or Method) 
1. การเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.1              เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
1.2              เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียน
1.3              เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
1.4              เลือกรูปแบบของสื่อ รูปแบบของสื่อเป็นการแสดงออกทางกายภาพของสื่อที่ปรากฏให้เห็น เช่น ภาพพลิก (ภาพนิ่ง และข้อความ)
1.5              เลือกสื่อการเรียนการสอนที่พอจะหาได้และอำนวยความสะดวกในการใช้การเลือกสื่อการเรียนการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน
2. การใช้สื่อการเรียนการสอน
2.1  วิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze learners)โดยพิจารณาเกี่ยวกับ
2.1.1 คุณลักษณะทั่วไป เช่น อายุ ระดับชั้นเรียน อาชีพ หรือตำแหน่งหน้าที่ตลอดจนวัฒนธรรม
2.1.2 ลักษณะเฉพาะที่นำสู่ความสามารถในการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งการทดสอบก่อนการเรียนจะช่วยให้ทราบถึงระดับความพร้อมหรือประสบการณ์เบื้องต้นที่ผู้นั้นมี และเนื้อหาและทักษะที่ต้องฝึกฝน
2.1.3 รูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะจิตวิทยาการเรียนรู้โดยพิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจความแตกต่างในการรับรู้
2.2  กำหนดจุดมุ่งหมายหรือ พฤติกรรมสุดท้ายที่หวังจะให้ผู้เรียนมี (State objectives)แยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะพฤติกรรม 3ประเภท คือ
2.2.1 พุทธิพิสัย (Cognitive domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์และความคิดรวบยอด
2.2.2 จิตพิสัย (Affective domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติความเข้าใจ และค่านิยม
2.2.3 ทักษะพิสัย (Psychomotordomain) หมายถึง การเรียนจากการกระทำที่แสดงออกทางด้านร่างกายและเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย เช่น การเรียนว่ายน้ำ การเรียนขับรถการอ่านออกเสียง การใช้ท่าทางและการเล่นกีฬา  เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น